ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ประดู่, ประดู่ป่า
ประดู่, ประดู่ป่า
Pterocarpus macrocarpus Kurz
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Papilionaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus macrocarpus Kurz
 
  ชื่อไทย ประดู่, ประดู่ป่า
 
  ชื่อท้องถิ่น ไม้ดู่เดี๋ยง(เมี่ยน), ลำดู่(ลั้วะ), ประดู่ป่า(คนเมือง), เสเส้ง(ม้ง), ไม้ดู่(ไทลื้อ,ขมุ)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ประดู่ หรือประดู่เป็นไม้ยืนต้น สูง 15-25 เมตร
 
  ใบ ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-9 ซม.
 
  ดอก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ รูปดอกถั่ว กลีบดอกสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม
 
  ผล ผลเป็นฝัก มีปีกแบนๆ หุ้ม
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ราก ต้มน้ำดื่มรักษาโรคบิด(คนเมือง)
เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้อาการท้องเสีย (ม้ง)
- เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน(เมี่ยน,ลั้วะ,ขมุ,ไทลื้อ)
เนื้อไม้ ใช้ทำโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน เช่น เสาบ้าน ไม้กระดาน(ม้ง)
- เปลือกต้น ต้มน้ำเดือดใช้ย้อมผ้า ให้สีน้ำตาล(คนเมือง)
เปลือกไม้ ต้มแล้วนำน้ำที่ได้ใช้ย้อมผ้า ให้สีน้ำตาลแดง(เมี่ยน)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง